นักวิจัยศูนย์พัฒนาธุรกิจและการดูแลสังคมสูงอายุ (ABCD Centre) คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นำโดย ผศ. ดร. ดวงใจ หล่อธนวณิชย์ ผู้อำนวยการศูนย์ฯ นำเสนอผลงานวิจัยโครงการเตรียมความพร้อมสังคมสูงอายุของประเทศไทย ในงาน AHWIN Forum: Achieving Healthy Aging in Asia ภายใต้แนวคิด  “Achieving Healthy Aging in Asia: Envisioning Better Care for Older Adults.” ซึ่งส่วนหนึ่งของงาน G20 Health Ministers’ Meeting Side Event 2019 ที่จัดขึ้นในวันที่ 17 ตุลาคม 2562 ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น

ผศ. ดร. ดวงใจ ร่วมอภิปรายในหัวข้อ  “Who Will Be the Caregivers? Meeting the Growing Elder Care Needs in Asia?” ซึ่งมีประเด็นเกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุในระยะยาวในทวีปเอเชีย การจัดประเภทผู้ดูแลและการบริการผู้สูงอายุ และนโยบายที่จำเป็นในขณะที่ความต้องการบริการผู้สูงอายุกำลังเติบโต ผู้อำนวยการของ ABCD ได้กล่าวถึงความกังวลที่ประเทศไทยเผชิญเกี่ยวกับความต้องการและคุณภาพของการบริการผู้สูงอายุว่าปัญหาที่ใหญ่ที่สุดคือ การบริการแบบมืออาชีพยังไม่มีคุณภาพเท่าที่ควร ประเทศไทยจึงเรียนรู้ประเด็นดังกล่าวจากประเทศญี่ปุ่นได้

และพบว่าประเทศไทยควรมีการบริการผู้สูงอายุที่เน้นไปที่อุปกรณ์อำนวยความสะดวกแต่กลับมีอุปสรรคเป็นเรื่องค่าใช้จ่าย รัฐบาลจะเน้นไปที่บำเหน็จบำนาญและอุปกรณ์การแพทย์เสียเป็นส่วนใหญ่ ถัดมาในการอภิปรายประเด็นที่สองซึ่งเกี่ยวกับ การจำกัดความคำว่า “Long-term Care” หรือ การดูแลผู้สูงอายุในระยะยาวในแต่ละประเทศ ผศ. ดร. ดวงใจ ซึ่งเป็นตัวแทนของประเทศไทยได้กล่าวว่า รัฐบาลไทยจำกัดความการดูแลในระยะยาวว่าการดูแลผู้สูงอายุที่พึ่งพาตนเองได้เท่านั้น ซึ่งนักวิจัย ABCD ได้ทำการวิจัยเชิงนโยบายเพื่อจะเปิดมุมมองที่ครอบคลุมตั้งแต่คนในกลุ่มคนที่กำลังจะสูงอายุและผู้สูงอายุเนื่องจากประเด็นนี้คล้ายการดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมที่เราจะเสียโอกาสในการยืดชีวิตผู้คนที่มีสุขภาพแข็งแรงให้ยืนยาวขึ้นหากเราดูแลแค่ผู้ที่สมองเสื่อม

ในฐานะผู้อำนวยการของศูนย์ ABCD ผศ. ดร. ดวงใจเผยถึงพันธกิจและทิศทางของศูนย์ฯ ต่อหน้าผู้เข้าร่วมงานจากหลากหลายประเทศว่า “ศูนย์พัฒนาธุรกิจและการดูแลสังคมสูงอายุ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทำวิจัยและมุ่งเน้นไปที่การตอบโจทย์ประเทศที่คนสูงอายุกำลังเพิ่มขึ้นและทำการอบรมบุคคลทั่วไปเพื่อร่วมพัฒนาคุณภาพของธุรกิจดูแลและบริการผู้สูงอายุซึ่งจะเป็นสิ่งสำคัญสำหรับประเทศไทยที่จำนวนผู้สูงอายุจะมีสัดส่วนถึง 30% ของประชากรทั้งหมดในอีก 20 ปีข้างหน้า”

Download Panel Summary
Download AHWIN FORUM Report