ศูนย์พัฒนาธุรกิจและสังคมสูงอายุ (Ageing Business & Care Development Centre: ABCD) คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดงาน Thailand Ageing Strategic Forum 2018 ในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2561 ณ Wecosystem อาคารเกสรทาวเวอร์ กรุงเทพฯ

โดยมี รศ.ดร.พิภพ อุดร คณบดี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นผู้กล่าวเปิดงานและเรียนเชิญ คุณอาคิโอะ โคอิเดะ (Mr Akio Koide) Chief Advisor, JICA Seamless Care Project มากล่าวปาถกฐาในหัวข้อ “Challenges of Becoming Aged Society” เกี่ยวความท้าทายของการเปลี่ยนผ่านสู่สังคมสูงอายุที่จะต้องเผชิญ

ตามด้วยการบรรยายพิเศษโดยผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขา เช่น การบรรยาย “Medical Perspective toward Medical Expense Policy” โดย พญ. กันต์กมล จัยสิน กรรมการผู้จัดการ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ เกี่ยวกับโครงสร้างประชากรในวัยสูงอายุที่เกิดขึ้นในไทยและสถานการณ์และแนวโน้มของสุขภาพของผู้สูงอายุไทย

ตามด้วยการบรรยาย “Employment in the Ageing Society: Public-Private Partnerships and the Role of Public and Private Sectors in Elder Employment” โดย ผศ.ดร. ศุภชัย ศรีสุชาติ ผู้อำนวยการสถาบันเสริมศึกษาและทรัพยากรมนุษย์ และ “Policy Maker Views on Thailand Aged Society” โดย ดร. ธัชไท กีรติพงค์ไพบูลย์ สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง ตามลำดับ

งานสัมมนาดังกล่าวแบ่งออกเป็น 2 ช่วง ได้แก่ Panel 1: Technology and Business Solution Strategy for Thai Ageing Society และ Panel 2: Elder Care Business: Myth and Reality การอภิปรายในช่วงที่หนึ่งนั้นเกี่ยวกับนวัตกรรมและธุรกิจที่จะรองรับสังคมผู้สูงอายุในประเทศไทย โดยมีตัวแทนจากบุคลากรในแวดวงเทคโนโลยีมีร่าวเสวนา ได้แก่  ผศ.ดร.วิรัช ศรเลิศล้ำวานิช สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คุณวชิระชัย คูนำวัฒนา ผู้จัดการสำนักงานวางแผนธุรกิจ บริษัท เอสซีจี ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง จำกัด รศ. ดร.รินา ภัทรมานนท์ อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ คุณ Shunichi Yoshitakeบริษัท AIVS (ประเทศญี่ปุ่น)

ในการนี้ ผศ.ดร.วิรัช ศรเลิศล้ำวานิช ได้เสนอตัวอย่างการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยดูแลผู้สูงอายุว่าระบบสำคัญที่จะเป็นประโยชน์กับผู้สูงอายุคือการดูแลเรื่องการตกเตียงเนื่องจากจะเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตหรือเกิดการเจ็บป่วยอื่น ๆ ตามมา จำเป็นต้องตั้งค่าพารามิเตอร์ให้รู้ว่าตอนนี้ผู้ที่นอนอยู่บนเตียงอยู่ในตำแหน่งที่อันตรายหรือต้องการความช่วยเหลือหรือไม่ โดยที่ผ่านมาได้ทำการเก็บข้อมูลที่บ้านแพ้วโดยการติดเซ็นเซอร์ไว้ใต้ที่นอนและนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และสร้างเป็นฐานข้อมูล

ในการสัมมนาช่วงที่สอง มีการอภิปรายเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจดูแลและบริการผู้สูงอายุโดยมีผู้ที่ประกอบธุรกิจดูแลผู้อายุมาร่วมอภิปราย ได้แก่ พญ. เรณู อุบล กรรมการผู้จัดการ Serene Palace and El Care Nursing Home พญ.นาฏ ฟองสมุทร กรรมการผู้จัดการ โครงการที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุ สว่างคนิเวศ นพ. คณพล ภูมิรัตนประพิณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง Startup Health at Home และคุณสมศักดิ์ กาญจนาคาร ผู้บริหารฝ่ายการตลาด บริษัท ฮิตาชิ เอเชีย (ประเทศไทย) จำกัด ในฐานะผู้บริการเนอร์สซิ่งโฮม พญ. เรณู และ พญ.นาฏ เน้นย้ำความสำคัญของการวิเคราะห์ความสามารถในการพึ่งพาตนเองของผู้สูงอายุก่อนเข้ารับบริการ โดยแบ่งเป็นผู้สูงอายุที่พึ่งพาตนเองได้และไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้ เนื่องจากผู้สูงอายุสองกลุ่มนี้มีความต้องการและวิถีชีวิตที่ต่างกันโดยสิ้นเชิง ผู้ประกอบการจึงควรคำนึงถึงเงื่อนไขดังกล่าวเพื่อตอบรับความต้องการของผู้อยู่อาศัย พญ.นาฏ ได้กล่าวเสริมในส่วนของที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุที่พึ่งพาตนเองได้ว่าโครงการสวางคนิเวศของตนจัดอยู่ในกลุ่มดังกล่าว ผู้สูงอายุตัดสินใจเข้าอยู่ในโครงการเพราะสิ่งแวดล้อมปลอดภัย เหมาะสมกับการใช้ชีวิต และก่อให้เกิดสังคม เอื้อให้ผู้ที่มีวิถีชีวิตใกล้เคียงกันได้อยู่ด้วยกันและทำกิจกรรมร่วมกัน มีบริการด้านสุขภาพ และมีบริการด้านการแพทย์รองรับ นอกจากนั้น บริษัทเอกชนอีกหลากหลายแห่งยังเจาะกลุ่มผู้สูงอายุดังกล่าวเนื่องจากผู้สูงอายุยังแข็งแรงและช่วยเหลือตนเองได้จึงไม่ต้องเน้นด้านการแพทย์นัก