Aging Society คือหนึ่งใน Mega Trends สำคัญที่เกิดขึ้นทั่วโลก จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการแพทย์ซึ่งช่วยยืดอายุขัยโดยเฉลี่ยของผู้คนออกไปมากขึ้น จากอายุเฉลี่ยที่ 80 ปี ปัจจุบันค่าเฉลี่ยนี้ก็ขยับขึ้นไปเป็น 90 – 100 ปีแล้ว
.
ทำให้คำถามสำคัญของชีวิตผู้สูงวัยจึงไม่ใช่เรื่องที่ว่าจะตายเมื่อไหร่ แต่เป็นจะอยู่อย่างไร?
.
.
ศูนย์พัฒนาธุรกิจและการดูแลสังคมสูงวัย ( Ageing Business & Care Development Centre: ABCD) ได้จัดสัมมนาเสนอผลงานวิจัย Thailand Ageing Strategic Forum 2019 เมื่อวันที่ 25 กันยานยน พ.ศ. 2562 ที่สสส. เพื่อเตรียมความพร้อมประเทศไทย ก่อนเข้าสู่สังคมสูงอายุเต็มรูปแบบ
.
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ประเทศไทยเองก็เริ่มตระหนักถึงความสำคัญของตลาดสินค้าสำหรับผู้สูงอายุ และส่งผลต่อเนื่องให้ตลาดผู้สูงอายุในไทยเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว
.
ในปี 2559 มูลค่าตลาดของสินค้าเพื่อสุขภาพถูกประเมินไว้อยู่ที่ 3,500 ล้านบาท
.
แต่ในเพียงปีเดียว ตลาดสินค้าเพื่อสุขภาพในปี 2560 กลับมีมูลค่าถึง 7,000 ล้านบาท
.
ไม่หยุดเพียงเท่านั้น ตลาดสินค้าเพื่อสุขภาพยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมีมูลค่าประเมินในปี 2561 อยู่ที่ 10,000 ล้านบาท
.
และในปี 2562 นี้ตลาดสินค้าเพื่อสุขภาพก็ก้าวกระโดดอย่างรวดเร็วจนมีมูลค้าตลาดแนวโน้มเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง
.
สำนักข่าว Business Times ยังได้มีการประเมินมูลค่าตลาดในอนาคตของสินค้าเพื่อสุขภาพในพื้นที่เอเชีย-แปซิฟิก ว่าจะเติบโตไปถึง 3.3 ล้านล้าน เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 100 ล้านล้านบาท) ภายในปี 2020 (2563)
.
.
อีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ตลาดสินค้าผู้สูงวัยเติบโตอย่างรวดเร็วนี้ เพราะการเติบโตของเทรน Aging Society ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องแค่กับผู้สูงอายุเท่านั้น แต่รวมไปถึงทุกคนที่มีอายุมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ใช่เพียงแต่ผู้สูงวัยที่หันมาเริ่มดูแลสุขภาพตัวเอง แต่ปัจจุบันเราเริ่มดูแลสุขภาพตัวเองตั้งแต่เด็ก และยิ่งดูแลมากขึ้นเมื่อเข้าสู่วัยทำงานที่มีกำลังจับจ่าย
.
ตลาดสินค้าในเทรนด์ Aging Society ก็ไม่ได้จำกัดอยู่แค่สินค้าเพื่อสุขภาพ แต่ยังรวมไปได้ถึงสินค้าใช้ในชีวิตประจำวัน ไลฟ์สไตล์ หรือแม้กระทั่งอสังหาริมทรัพย์ก็ยังเริ่มต้นที่จะหันมาจับตลาดผู้สูงอายุที่ต้องการมีชีวิตที่สะดวกสบายหลังวัยเกษียณ
.
.
อีกหนึ่งเทรนด์ที่น่าสนใจซึ่งซ้อนทับอยู่ใน Aging Society อีกที คือเรื่องของเทคโนโลยีกับผู้สูงอายุ จากการวิจัยของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ Start-up รุ่นใหม่พูดถึงผู้สูงวัยภายใต้ 4 เทรนด์หลักๆ
.
1. ความคุ้นเคยกับเทคโนโลยี – ปัจจุบันผู้สูงวัยไม่จำเป็นจะต้องเป็นคนไม่รู้เรื่องเกี่ยวกับเทคโนโลยีอีกต่อไปแล้ว เมื่อปัจจุบันเทคโนโลยีกว้างไกลขึ้นเรื่อยๆ และมีบทบาทในชีวิตประจำวันของเรามากขึ้นเรื่อย
.
ตอนนี้การเห็นคนอายุ 80 เล่น Line จึงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรแล้ว แต่คำถามคือต่อไปอะไรจะเป็นเทคโนโลยีที่ผู้สูงวัยจะใช้ประจำในชีวิตประจำวัน
.
.
2. ความก้าวหน้าใน IT และ AI – ปัจจุบันเทคโนโลยีพัฒนาขึ้นอย่างกว้างไกลจนสามารถตอบสนองได้แทบทุกความต้องการของมนุษย์ และทำในสิ่งที่มันไม่เคยทำได้มาก่อน และในบางครั้งก็อาจทำได้ดียิ่งกว่ามนุษย์
.
วงการแพทย์เป็นตัวอย่างที่ดีในเรื่องการพัฒนาของเทคโนโลยี ปัจจุบันนี้เริ่มมีคอมพิวเตอร์ที่สามารถวินิจฉัยโรค และอ่านผลภาพถ่ายรังสีได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่คอมพิวเตอร์ซึ่งมีความสามารถประมวลผลซับซ้อนน่าจะทำได้ดีอยู่แล้ว
.
ต่อไปเทคโนโลยีใดบ้างที่จะสามารถพัฒนาความเป็นอยู่ที่ดี (Well Being) ให้เราได้อีกบ้าง หรือเราสามารถนำเทคโนโลยีมาช่วยสร้างชีวิตที่ดีขึ้นให้กับผู้สูงวัยได้อย่างไร
.
.
3. การรวบรวมข้อมูล
.
การใช้เทคโนโลยีที่มากขึ้นทำให้มีข้อมูลมากขึ้นอย่างมหาศาลในปัจจุบัน หรือที่เราเรียกรวมกันว่า Big Data และข้อมูลเหล่านี้ที่ถูกรวบรวมมาช่วยให้สามารถสร้างบริการที่ดีขึ้น หรือวิธีการแก้ปัญหาที่ตรงจุดยิ่งขึ้น
.
แล้วปัจจุบันหรือในอนาคตจะมีข้อมูลใดบ้างที่เราจะสามารถรวบรวมและแบ่งปันเพื่อช่วยให้การดูแลผู้สูงวัย หรือแม้กระทั่งตัวเราเอง เป็นไปได้ดีขึ้น
.
.
4. อาชีพใหม่
.
สิ่งสำคัญอย่างสุดท้ายนั้นคือการสร้างรายได้ในวัยหลังเกษียณ มีผู้สูงวัยมากมายที่ไม่สามารถดูแลตัวเองได้ด้วยเงินออม และเงินสนับสนุนอื่นๆที่มี ทำให้จำเป็นจะต้องออกไปทำงานโดยที่ร่างกายในขณะนั้นอาจไม่เอื้ออำนวยอีกต่อไปแล้ว
.
แต่เราจะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีที่ผ่านมาสามารถช่วยให้เกิดอาชีพใหม่ขึ้นได้มากมาย แต่จะเป็นไปได้อย่างไรบ้างที่เราจะสามารถสร้างหรือค้นหาอาชีพที่สามารถใช้สมรรถภาพที่ผู้สูงวัยมี และอาจมีมากกว่าคนวัยหนุ่มสาว ในการให้พวกเขาสามารถทำงานที่เหมาะสมกับวัย และสร้างรายได้ให้กับตัวเองได้
.
.
เรื่องอาชีพและรายได้หลังวัยเกษียณนี้ก็เป็นอีกประเด็นที่สำคัญ เมื่อปัจจุบันองค์ความรู็ต่างๆกลับหมดอายุอย่างรวดเร็ว และถึงเวลาอันเหมาะสมแล้วที่มหาวิทยาลัยควรขยายขอบเขตคงามสนใจจากช่วงวัย 18 – 22 ปี ออกไปให้กว้างที่สุด และสนับสนุนแนวคิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต หรือ Lifelong Learning เพื่อให้ใครๆก็สามารถเรียนรู้ได้อยู่ตลอดเวลา ไม่จำกัดว่าอยู่ในช่วงอายุใด
.
ซึ่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก็ได้สร้างแพลตฟอร์มการเรียนรู้ออนไลน์อย่าง Gen Next Academy ขึ้นมาเพื่อสนับสนุนให้คนที่จบจากปริญญาแล้ว อยู่ในวัยทำงาน หรืออยู่ในวัยสูงกว่านั้น สามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต จากที่ไหนก็ได้ และยังเปิดโอกาสให้ผู้เรียนออนไลน์สามารถเก็บเครดิตเพื่อต่อยอดไปเป็นใบปริญญาอีกด้วย
.
.
ข้อมูลทั้งหมดที่นำเสนอมาในที่นี้มาจากการรวบรวมข้อมูลและค้นคว้าวิจัยเรื่องสังคมผู้สูงอายุ และโอกาสใน Aging Society ของ ศูนย์พัฒนาธุรกิจและการดูแลสังคมสูงวัย
.
ศูนย์พัฒนาธุรกิจและการดูแลสังคมสูงวัย ( Ageing Business & Care Development Centre: ABCD) คือแพลทฟอร์มสำหรับนักวิจัยด้านผู้สูงวัยจากหลากหลายสาขาถึง 12 คณะ เพื่อสร้างงานวิจัยเชิงนโยบายให้กับภาครัฐและภาคเอกชน และร่วมกันคิดค้นนวัตกรรมใหม่ด้านการดูแลผู้สูงวัย ให้ผู้สูงวัยสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีศักดิ์ศรีและมีความสุข
.
ABCD เกิดขึ้นจากความร่วมมือของคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กับ ERIA (Economic Research Institute for ASEAN and East Asia), JICA (Japan International Cooperation Agency) และเครือข่ายนักวิจัยด้านผู้สูงวัยของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
.
สามารถติดตามรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์กำลังจะเผยแพร่ในเว็บไซต์ www.abcdcentre@tbs.tu.ac.th และ เว็บไซต์ ERIA
.
.
และสามารถติดตามบทความดี ๆ จากงานวิจัยได้ที่
aomMONEY
Infographic Thailand
และ
Future Trends