วันนี้ไทยเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุและอีกเพียง 2 ปีข้างหน้า ไทยจะกลายเป็นสังคมสูงอายุโดยสมบูรณ์ แล้วผู้สูงอายุไทยเตรียมความพร้อมมากแค่ไหน…

[อาจดูว่ารัฐให้เงินผู้สูงอายุเยอะ แต่มันยังไม่เพียงพอ]

ข้อมูลจากกรมกิจการผู้สูงอายุบอกว่า ในปี 2562 รัฐจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 9 ล้านคน คิดเป็นเงิน 71,911,187,200 บาท แบ่งเป็น
– #เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 600 บาท (เป็นขั้นบันไดเมื่ออายุ 70, 80)

– #บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ให้กับผู้สูงอายุที่มีรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจน ปัจจุบันมีจำนวน 4.6 ล้านคน

– #เงินสงเคราะห์ ให้กับผู้สูงอายุที่ยากลำบาก รายละไม่เกิน 2,000 บาท ไม่เกิน 3 ครั้ง/คน/ปี

วิจัยเรื่อง “การดูแลผู้สูงอายุระยะยาว ต้นแบบปฎิบัติการในประเทศไทยและข้อเสนอเชิงนโยบายสังเคราะห์จากงานวิจัยด้านผู้สูงอายุของประเทศไทยช่วงปี พ.ศ. 2551 – พ.ศ. 2561” บอกว่า เงินที่รัฐให้ผู้สูงอายุต่อคนต่อเดือนอยู่ที่ 1,400 บาท…แต่ความจริงแค่ค่าอาหารต่อเดือนก็อยู่ที่ 5,006 บาทแล้ว เมื่อมารวมกับค่าใช้จ่ายอื่นๆ อีก ผู้สูงอายุไทยจึงมีรายได้ไม่พออย่างแน่นอน!

[ทุกวันนี้ผู้สูงอายุไทยได้เงินจากช่องทางไหน…ถึงพอใช้ชีวิต]

แหล่งรายได้หลักของผู้สูงอายุไทยมาจากลูก การทำงาน และสวัสดิการรัฐ โดยปัจจุบันพบว่า ผู้สูงอายุในช่วง 60-64 ปียังคงทำงานถึง 59% และหลังจากเกษียณก็ยังได้รับเงินด้วย แบ่งกลุ่มอาชีพดังนี้

ข้าราชการ เงินกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พร้อมสิทธิในการรักษาพยาบาลทั้งตนเอง คู่สมรส บุพการี และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ

เกษียณจากการทำงานบริษัทเอกชน มีเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ, ประกันสังคม ประมาณ 3,000 บาทต่อเดือน, กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และค่าชดเชยการเลิกจ้าง

กลุ่มแรงงานอิสระ มีเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ

เห็นได้ว่ากลุ่มแรงงานอิสระ แทบไม่มีหลักประกันทางรายได้ นอกจากเงินรัฐ ฉะนั้นถ้าอยากจะมีคุณภาพชีวิตวัยเกษียณที่ดี ควรเก็บเงินออมตั้งแต่ตอนทำงาน 40% ของเงินเดือน เพื่อให้ตอนเกษียณมีเงินออมขั้นต่ำ 4 ล้านบาท หรือใช้ได้เฉลี่ยเดือนละ 20,000 บาทจนอายุ 80 ปีเรียกได้ว่า ลำบากตอนนี้ สบายตอนแก่อย่างแน่นอน…

รายงานวิจัย “การดูแลผู้สูงอายุระยะยาว ต้นแบบปฎิบัติการในประเทศไทย
และข้อเสนอเชิงนโยบายสังเคราะห์จากงานวิจัยด้านผู้สูงอายุของประเทศไทยช่วงปี พ.ศ. 2551 – พ.ศ. 2561” ของผู้ช่วยศาสตรจารย์ ดร.ดวงใจ หล่อธนวณิชย์, ผู้ช่วยศาสตรจารย์ ดร.นลินี ตันธุวนิตย์, ผู้ช่วยศาสตรจารย์นฤตย์ นิ่มสมบุญ และสุภาพร อัษฎมงคล

ท่านผู้อ่านพร้อมที่จะดูแลตัวเองและพร้อมเรียนรู้ เพิ่มทักษะเพื่อปรับตัวให้ทันการเปลี่ยนเปลี่ยนและมีชีวิตอยู่อย่างสง่างาม ติดตามงานวิจัยเตรียมความพร้อมของสังคมสูงอายุของประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ในเร็วๆนี้ที่ www.eria.org
www.abcdcentre@tbs.tu.ac.th